ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
สารกัมมันตภาพรังสี(radioactivity)
ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนกกับเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิโถมถล่มซ้ำประเทศญี่ปุ่นจนถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น  หลายคนคงได้ยิน  คำว่า "สารกัมมันตภาพรังสี"คงสงสัยกันว่า มันคืออะไร

สาร กัมมันตภาพรังสี (Radioactive substance) ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน แล้ว เช่นวงการแพทย์นำมาใช้ในเครื่อง X-Ray, รักษามะเร็ง ทางเกษตรนำมาใช้ในการถนอมอาหาร, ปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นต้น แต่ถ้าหากนำมาใช้ผิดวิธีหรือไม่มีวิธีป้องกันอาจเกิดโทษได้

ความรู้เรื่องผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากรังสีมีอยู่น้อย เกือบทั้งหมดได้จากการศึกษาผู้ป่วยที่รอดชีวิต จากระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย อาการของผู้ป่วยเกิดได้ทุกระบบ ขึ้นกับอวัยวะที่ได้รับรังสี, ปริมาณรังสีและ ระยะเวลาที่ได้รับ

ปริมาณของรังสีทางการแพทย์มีหน่วยเป็น Gray (Gy) โดย 1 Gy เท่ากับ 100 rad (เครื่องถ่าย X-ray ปอดจะแพร่รังสี น้อยกว่า 1/4 rad ต่อครั้ง)

ถ้าผู้ป่วยได้รับรังสีมากกว่า 100 Gy จะเสียชีวิตทุกรายภายใน 24-48 ชม.
ถ้าน้อยกว่านั้น เช่น 5-12 Gy จะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน, ท้องเสีย ขาดน้ำรุนแรง อาจเกิดลำไส้ตาย และทะลุได้ อาจมีผื่นลอกตามตัว, เนื้อตาย และเป็นหมันถาวร
ส่วนขนาดที่น้อยลงเช่น 2-8 Gy จะกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำลง เกล็ดเลือดต่ำ ซีดได้

ขนาดที่ทำให้เสียชีวิตได้ (Lethal dose : LD) คิดเป็นค่า LD50/60 (หมายความว่าปริมาณรังสีที่ทำให้คนปกติเสียชีวิต 50 ใน 100 คนภายใน 60 วัน) ประมาณเท่ากับ 325 rad หรือ 3.25 Gy ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์

นอกจากผลของรังสีระยะสั้นแล้วผลระยะยาวของการได้รับรังสี ซึ่งจะแสดงออกหลังจากได้รับรังสีไปนานหลายปีหรือหลายสิบปี ได้แก่การเกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ เช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งต่อมธัยรอยด์, มะเร็งเต้านม เป็นต้น
การนำรังสีมาใช้ในการแพทย์นั้นได้รับการป้องกันภัยจากรังสีอย่างรัดกุม อาทิเครื่องฉาย X-ray จะไม่แผ่รังสีถ้าไม่มีการถ่ายภาพรังสี อีกทั้งรังสีก็มีจำนวนน้อยมาก ส่วนการนำรังสีรักษามาใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็ง เช่น โคบอลท์-60 นั้นมีการป้องกันโดยบรรจุในภาชนะตะกั่วขนาดที่หนาพิเศษ มีการติดตั้งในห้องที่มิดชิด และหุ้มด้วยตะกั่วโดยรอบ รังสีไม่อาจรั่วไหลออกมาได้ คนทั่วไปรวมทั้งผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลแต่ประการใดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และปล่อยปละละเลยของผู้เก็บสารกัมมันตภาพรังสีโดยไม่ถูกต้อง

ผลของรังสีต่อสิ่งมีชีวิต

รังสีที่แผ่ออกจากธาตุกัมมันตรังสีเมื่อผ่านเข้าไปในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จะทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนของอะตอมตามแนวทางที่รังสีผ่านไป ทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต 2 แบบ คือ

  • ผลของรังสีที่มีต่อร่างกาย คือ เกิดเป็นผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ผมร่วง เซลล์ตาย เป็นแผลเปื่อย เกิดเนื้อเส้นใยจำนวนมากที่ปอด (fibrosis of the lung) เกิดโรคเม็ดโลหิตขาวมาก (leukemia) เกิดต้อกระจก (cataracts) ขึ้นในนัยน์ตา เป็นต้น ซึ่งร่างกายจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ได้รับส่วนของร่างกายที่ได้ และอายุของผู้ได้รับรังสี ดังนั้นผู้ได้รับรังสีมีอายุน้อยแล้วอันตรายเนื่องจากรังสีจะมีมากกว่าผู้ที่มีอายุมาก ในทารกแรกเกิดแล้วอาจได้รับอันตรายถึงพิการหรือเสียชีวิตได้
  • ผลของรังสีที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ คือ ทำให้โครโมโซม (chromosome) เกิดการเปลี่ยนแปลง มีผลทำให้ลูกหลานเกิดเปลี่ยนลักษณะได้

การป้องกันรังสี

รังสีทุกชนิดมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งนั้น จึงต้องทำการป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับรังสี หรือได้รับแต่เพียงปริมาณน้อยที่สุด ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากต้องทำงานเกี่ยวข้องกับรังสีแล้ว ควรมีหลักยึดถือเพื่อปฏิบัติดังนี้

  1. เวลาของการเผย (time of exposure) โดยใช้เวลาในการทำงานในบริเวณที่มีรังสีให้สั้นที่สุด เพราะปริมาณกำหนดของรังสีจะแปรตรงกับเวลาของการเผย
  2. ระยะทาง (distance) การทำงานเกี่ยวกับรังสีควรอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีมาก ๆ ทั้งนี้เพราะความเข้มของรังสีจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทาง คือ เมื่อ d คือระยะทาง
  3. เครื่องกำบัง (shielding) เครื่องกำบังที่วางกั้นระหว่างคนกับแหล่งกำเนิดรังสีจะดูดกลืนบางส่วนของรังสีหรืออาจจะทั้งหมดเลยก็ได้ ดังนั้นในกรณีที่ต้องทำงานใกล้กับสารกัมมันตรังสีและต้องใช้เวลานานในการปฏิบัติงาน เราจำเป็นต้องใช้เครื่องกำบังช่วยเครื่องกำบังที่ดีควรเป็นพวกโลหะหนัก เพราะว่าโลหะ หนักจะมีอิเล็กตรอนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้รังสีเมื่อวิ่งมาชนกับอิเล็กตรอนแล้วจะสูญเสียพลังงานไปหมด ตัวอย่างของเครื่องกำบังเช่น แผ่นตะกั่ว แผ่นเหล็ก แผ่นคอนกรีต ใช้เป็นเครื่องกำบังพวกรังสีเอกซ์และรังสีแกมมา แผ่นลูไซท์ควอทซ์ ใช้เป็นเครื่องกำบังรังสีเบตาได้ อากาศและแผ่นกระดาษ อาจใช้เป็นเครื่องกำบังอนุภาคอัลฟา ส่วนน้ำและพาราฟินใช้เป็นเครื่องกำบังอนุภาคนิวตรอนได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th