ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
โรคหอบหืด(Asthma)
โรคหอบหืด(asthma)เป็นอาการที่พบได้ในคนทุกวัยโรคหอบหืด เมื่อทางเดินอากาศ (ท่อเล็กๆในร่างกายที่นำพาอากาศเข้า และออกจากปอด) มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไวเกินต่อสารภูมิแพ้รอบข้าง เกิดอาการแพ้ระคายเคืองและอักเสบ สาเหตุที่เกิดขึ้นก็เมื่อมีการสัมผัสกับสิ่งต่างๆที่แพ้ หรือสิ่งซึ่งมีผลทำให้ทางเดินอากาศของคุณเกิดอาการระคายเคือง (สิ่งกระตุ้น)

เมื่อคุณพบเจอหรือมีการสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นทางเดินอากาศของคุณสามารถเกิดอาการเหล่านี้ได้

  • มีลักษณะตีบแคบลง
  • อักเสบและบวม
  • ผลิตเมือกบุออกมามากเป็นพิเศษ

อาการเหล่านี้จะทำให้คุณหายใจไม่สะดวก และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่างๆของโรคหอบหืด – อาการไอ หายใจหอบ มีเสียงหวีด แน่นหน้าอก และหายใจขัด

ลักษณะอาการของโรคหอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับตั้งแต่อาการไม่รุนแรง ปานกลาง หรืออาการหนัก อาการ ต่างๆ นั้นได้แก่

  • ไอ
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • หายใจสั้นและลำบาก
  • แน่นหน้าอก

อาการต่างๆเหล่านี้มักเอาแน่เอานอนไม่ได้ สามารถเป็นๆหายๆได้ทุกเมื่อซึ่งโดยปกติแล้วมีโอกาสที่จะเป็นรุนแรง ได้ในตอนกลางคืน และอย่างที่หลายๆคนคงทราบกันดี ว่าอาการที่ไม่ค่อยจะพบเห็นเท่าไหร่นั่นก็คือหายใจมีเสียงหวีด ที่คุ้นเคย และมักจะเป็นกันบ่อยๆ คืออาการไอนั่นเอง

สาเหตุ โรคหอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ทุกช่วงอายุเราไม่มั่นใจมากที่จะยืนยันแน่ชัดว่าอะไรคือสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืด แต่ที่แน่ๆ เราพอทราบว่า

  • โรคหอบหืดสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้
  • เป็นเพราะแนวทางการใช้ชีวิตในยุคใหม่ เช่นการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่อยู่อาศัย อาหารการกินและสภาพแวดล้อม ที่สะอาดปลอดสารพิษมากขึ้น
  • มารดาที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นการเพิ่มโอกาสของลูกในครรภ์ที่จะเติบโตมากับโรคหอบหืดได้
  • คนที่เพิ่งมีอาการหอบหืดในตอนหลัง หรือในวัยเด็กไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหอบหืด (Late-onset asthma) อาจเกิดขึ้นได้หลังจากการติดเชื้อไวรัส
  • สิ่งรบกวนต่างๆในที่ทำงาน อาจนำไปสู่อาการต่างๆของโรคหอบหืดได้เช่นกัน

สิ่งกระตุ้นนั้นรวมถึง

  • การติดเชื้อ เช่นไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
  • สิ่งกระตุ้นการระคายเคืองอย่างเช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันหรือไอระเหย
  • สารเคมีในสถานที่ทำงาน
  • การแพ้เกสรดอกไม้ ยาชนิดต่างๆ สัตว์ ฝุ่นบ้าน หรืออาหารบางชนิด
  • การออกกำลังกายบางประเภท เช่นในสถานที่ที่มีอากาศหนาวและแห้ง
  • อารมณ์ เช่นเมื่อคุณหัวเราะหรือร้องไห้อย่างหนัก อาจกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้รวมทั้งความเครียดด้วย

วิธีการรักษา โชคไม่ดีที่โรคหอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามวิธีการบำบัดต่างๆจะช่วยลดปริมาณความถี่ ความรุนแรง และระยะเวลาที่อาการกำเริบได้ ทั้งนี้ก็เพราะปัจจัยหลากหลายที่เกี่ยวข้อง

• Inhaler (เครื่องมือสูบอากาศหรือยาเข้าปอด) Inhaler มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

- Reliever ลดอาการ ซึ่งจะช่วยลดและบรรเทาเมื่อเกิดอาการขึ้น

- Preventer ป้องกันไม่ให้เกิดอาการซึ่งคุณสามารถใช้ได้ทุกวันเพื่อป้องกันอาการต่างๆไม่ให้กำเริบ

• Spacer Spacer มีหน้าที่ช่วยเหลือคุณให้ใช้ Inhaler ได้อย่างถูกต้องมีลักษณะเป็นท่อยาวเชื่อมต่อกับ Inhaler โดยที่ปลายท่อออกแบบมาให้ใช้ง่ายคู่กับปากเวลาสูดหายใจเข้าและออก

• Nebuliser Nebuliser มีหน้าที่ทำให้น้ำและตัวยาหอบหืดเป็นละอองให้คุณหายใจเข้าไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีใช้แค่ในโรงพยาบาล แต่บางครั้งคนก็ซื้อไว้ใช้ที่บ้านเหมือนกัน

• ยาอื่นๆ ถ้าคุณมีอาการหอบหืดขั้นรุนแรง คุณอาจจะต้องบำบัดด้วยการรับประทานยาเม็ดสเตอรอยด์ เช่น prednisolone และตัวยาอื่นๆ อีกหลายตัวในกรณีที่การรักษาขั้นพื้นฐานไม่ได้ผล ตัวยาที่ว่านั้นก็ได้แก่ montelukast (Singulair) หรือ theophylline

นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาด้วยวิธีอื่นๆเพื่อบรรเทาอาการหอบหืดหรือเพื่อป้องกันไม่ให้อาการเหล่านี้กำเริบ ซึ่งก็คือ

  • รับประทานยาเสริม
  • เทคนิคช่วยในการหายใจและผ่อนคลาย เช่นการเล่นโยคะ
  • การฝึกหรือรักษาปัญหาเรื่องการนอนหลับ
  • การฝังเข็มบำบัด
  • การบำบัดแบบโฮมีโอพาธี (Homeopathy)
  • การหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด และการรับประทานอาหารเสริม
  • ยาที่ทำจากสมุนไพร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th