ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
ตับอักเสบ(Hepatitis)
           ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ ร่างกายมีการเจ็บป่วย ไม่สบาย พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนน้อยอาจ เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง โรคตับวาย มะเร็งตับ

สาเหตุ

             สาเหตุของโรคตับอักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจาก พิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เลปโตสไปโรสิส พยาธิ ยาบางชนิด สารเคมี

ชนิด

            โดยส่วนมากจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ดังนี้คือ

  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดเอ
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดดี
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดซี
  • ไวรัสตับอักเสบ ชนิดอี

 

ไวรัสตับอักเสบ ชนิดเอ

            การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ เกิดจาก การกินเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผักสด ผลไม้ น้ำดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ ทำไม่สุก ไม่สะอาด ไม่ต้มเดือด เป็นต้น
            ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ ประมาณ 2- 6 สัปดาห์ โดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์หลังรับเชื้อ ในเด็กมักมีอาการน้อย ในผู้ใหญ่มีอาการที่ชัดเจนของตับอักเสบเฉียบพลันเชื้อนี้ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนมีอาการจนถึงระยะที่มีอาการของโรค เชื้อไวรัสนี้คงทรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบมีการระบาด ในชุมชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร เป็นต้น

ไวรัสตับอักเสบ ชนิดบ

            คนเป็นพาหะ (Carrier) ที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้พบเชื้อนี้ในประชากรโลกกว่า 200 ล้านคน ประเทศไทยมีความชุกคนของพาหะร้อยละ 8 - 10 คือ ประมาณ 5 ล้านคนที่มีเชื้อในร่างกาย พบเชื้อได้ในเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม เป็นต้น ทำให้มีโอกาสแพร่ เชื้อได้หลายทาง ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่

  • ทางเพศสัมพันธ์ กับผู้เป็นพาหะของเชื้อนี้
  • ทารกคลอดจากมารดาที่เป็นพาหะ อาจติดเชื้อระหว่างคลอด การเลี้ยงดู
  • ทางเลือดและน้ำเหลือง การได้รับเลือดที่ติดเชื้ออาจเกิดจากการใช้ของมีคม/ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น การใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้ใบมีดโกน แปรงสีฟัน ร่วมกัน เป็นต้น
  • ทางผิวหนังที่เกิดบาดแผล ผิวหนังถลอก
  • ทางสัมผัสใกล้ชิด (Close contact) ระหว่างพาหะกับผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว เด็กวัยเรียน เป็นต้น

            ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ 30 - 180 วัน เฉลี่ย 60 - 90 วัน ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสนี้จะหายเป็นปกติ ที่เหลือเป็นพาหะของเชื้อต่อไป พาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบนี้ อาจไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อต่อไป ส่วนหนึ่งอาจป่วยเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับได้ ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อนี้มีโอกาสเสี่ยงของมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปถึง 223 เท่า

ไวรัสตับอักเสบ ชนิดด

            เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มีเชื้อไวรัส บี ทางติดต่อเช่นเดียวกับ ไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี เป็นสาเหตุที่สำคัญของ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือด/ผลิตภัณฑ์เลือด เดิมเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ ชนิด ไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี
            การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด ซี พบในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 1 ติดต่อได้โดยทางเลือดและน้ำเหลือง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดนอกจากนี้ อาจติดเชื้อได้ทางเพศสัมพันธ์
            ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ ประมาณ 15 - 160 วัน เฉลี่ย 50 วัน ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เชื่อว่าเชื้อ ไวรัสนี้ยังทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบชนิด บี

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส

           จากอาการดับกล่าว ร่วมกับ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ดังนี้

  1. ตรวจเลือดสมรรถภาพตับ (Liver Function test) เอนไซม์ SGOT(AST) & SGPT(ALT) สูงกว่าปกติ ค่า มากกว่าร้อยจน ถึงเป็นพัน ๆ ค่าของบิลิรูบิน (Bilirubin) สูงกว่าปกติด้วย ถ้าผู้ป่วยมีดีซ่าน (Jaundice)
  2. ตรวจเลือดว่าเป็นไวรัสชนิดใด เช่น
  3. IgM Anti HAV
  4. HBsAG ; IgM Anti Hbc etc.
  5. Anti HCV

การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส

           ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกแรงออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงในระยะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้า เส้นเลือดดำ ให้ยาแก้คลื่นไส้ ยาวิตามิน ฯลฯ

การป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ

  1. การมีอนามัยส่วนบุคคล ส่วนรวมที่ดี เช่น การล้างมือให้สะอาดก่อนทำสิ่งใด หลังการขับถ่าย การประกอบอาหารถูกหลักอนามัย เลือกรับประทานอาหารที่สุก น้ำดื่มที่สะอาด เป็นต้น
  2. หลีกเลี่ยงการรับ การสัมผัสเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่ง ของผู้อื่น ไม่ใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  3. ไม่สำส่อนทางเพศ ใช้ถุงยางอนามัย
  4. การฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบเอ
  • ทารกแรกคลอดทุกราย โดยเฉพาะถ้ามารดาเป็นพาหะของเชื้อ
  • เด็กทั่วไป เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • เด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่ อาจเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ แล้ว
  • คนที่จะเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงต่อโรค

    5.  การฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบี

  • ทารกแรกคลอดทุกราย โดยเฉพาะถ้ามารดาเป็นพาหะของเชื้อ
  • เด็กทั่วไป เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • เด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่ อาจเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แล้ว ให้ตรวจเลือดก่อนพิจารณาฉีด วัคซีน

 

ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ (Ig M Anti HAV)

ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBs Ab)
           ถ้ามีผลตรวจเป็น ลบ ทั้งหมด ควรฉีดวัคซีนป้องกันให้ร่ายกายมีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ถ้ามีผลตรวจเป็น บวก ตัวใดตัวหนึ่ง ไม่ต้องรับการฉีดวัคซีนนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th