ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
โรคตาแดง (Conjunctivitis)
                  โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

อาการของโรคตาแดง

                  แพทย์จะถามถึงยาที่ท่านรับประทาน ยาหยอดตา เลนส์ น้ำยาล้างตา รยะเวลาที่เป็น อาการที่สำคัญคือ

  1. คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคันไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่นหอบหืด ผื่นแพ้
  2. ขี้ตา ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง
  • ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง
  • ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

    3. ตาแดงเป็นข้างหนึ่งหรือสองข้าง

  • เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้
  • เป็นข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยเป็นสองข้างสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเช่นแบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia
  • ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกาแพทย์

    4. อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่นต้อหินม่านตาอักเสบเป็นต้นดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ต้องรีบพบแพทย์

    5. ตามัว แม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์

    6. ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ

การตรวจร่างกาย

  • คุณลองคลำต่อมน้ำเหลืองรอบหู หากคลำได้อาจจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส หรือจากสัมผัสสารระคายเคือง ส่วนเชื้อแบคทีเรียมักจะคลำไม่ได้ต่อมน้ำเหลือง
  • ในรายที่เป็นไม่มากไม่ต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม
  • ในรายที่เป็นรุนแรง เป็นๆหายๆ หรือเป็นเรื้อรังควรจะต้องตรวจเพาะเชื้อจากขี้ตา
  • การนำขี้ตามาย้อมหาตัวเชื้อก็พอจะบอกสาเหตุของโรคตาแดง
การป้องกันโรคตาแดง
  • อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น
  • อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
  • ล้างมือบ่อยๆ อย่าเอามือเข้าตา
  • ใส่แว่นตากันถ้าต้องเจอสารเคมี
  • อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
  • อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
  • ยาเมื่อไม่ได้ใช้ให้ทิ้ง
  • อย่าสัมผัสมือ
  • เช็ดลูกบิดด้วยน้ำสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรค
การักษาตาแดงด้วยตนเอง
  • ประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น
  • ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้
  • อย่าใส่ contact lens ช่วยที่มีตาแดง
  • เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนทุก 2 วัน
หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
  • ตามัวลง
  • ปวดตามากขึ้น
  • กรอกตาแล้วปวด
  • ไข้
  • ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
  • น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว
  • แพ้แสงอย่างมาก
การหยอดยาหยอดตา
  • ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
  • ดึงหนังตาล่างลง
  • ตาเหลือกมองเพดาน
  • หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
  • ปิดตาและกรอกตาไปมาเพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา
  • เช็ดยาที่ล้นออกมา
  • ล้างมือหลังหยอดเสร็จ

โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัส

                  เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ adenovirus มักจะระบาดในชุมชน โรงเรียน ที่ทำงาน การติดต่อมักจะติดต่อโดยการสัมผัสทางมือ เครื่องมือ สระว่ายน้ำ

                  อาการที่สำคัญคือตาแดงเฉียบพลัน น้ำตาไหล เยื่อบุตาบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต เคืองตาเล็กน้อย บางรายอาจจะมีเลือดออกที่ตาขาว อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยลามมาอีกข้างหนึ่ง

                  เนื่องจากโรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงสัมผัสกับคนอื่นเป็นเวลา 7 วันนับตั้งแต่เกิดอาการ การรักษาเป็นเพียงประคับประคองโดยการประคบเย็น ยาหยอดตา ยาปฏิชีวนะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของ steroid เพราะจะทำให้หายช้า

ตาแดงจากโรคภูมิแพ้ Allergic Conjunctivitis

                 เกิดจากการได้รับสารภูมิแพ้จากอากาศ มักจะเป็นฤดูกาล มักจะเป็นสองข้างมีอาการคันตาเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดงตาบวม การรักษาต้องหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ ประคบเย็น ยาหยอดตาแก้แพ้ ยาหยอดตาลดการอักเสบ ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน

ตาแดงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bacterial Conjunctivitis

                 ตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียมักจะเป็นอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเริ่มต้นมีขี้ตาเป็นหนอง ตาแดงอย่างรวดเร็ว กดตาจะเจ็บ เคืองตามาก ตาบวม หนังตาบวม เชื้อที่เป็นสาเหตุคือเชื้อหนองใน N. gonorrhoeae และเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น Neisseria meningitidis  ตาแดงจากเชื้อหนองในมักจะเกิดในเด็กทารกมักจะเกิดภายใน 3-5 วันหลังจากคลอดโดยได้รับเชื้อจากแม่ขณะคลอด การรักษาต้องหยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะ ล้างตาด้วยน้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด ceftriaxone ciprofloxacin Spectinomycin

                 สำหรับเด็กตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมักจะเป็นเชื้อ Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae ส่วนผู้ใหญ่จะเป็นเชื้อ Staphylococcus aureus อาการของตาแดงจะมีความรุนแรงน้อยกว่าเชื้อหนองใน จะมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตาเขียว ตาบวม หนังตาบวม

                 การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการเก็บหนองมาย้อมและเพาะเชื้อ

                 การรักษาต้องเลือกยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุยาที่นิยม ได้แก่ erythromycin ointment และ bacitracin-polymyxin B ointment หรือ trimethoprim-polymyxin B ,gentamicin (Garamycin), tobramycin (Tobrex)  neomycin,10 percent sulfacetamide solution

ตาแดงเรื้อรังจากเชื้อแบคทีเรีย

                 สาเหตุเกิดจากเชื้อ staohylococcus ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตาร้อนในตา รู้สึกเหมือนมีขี้ผงในตา มีสะเก็ดเกาะตาในตอนเช้า มักจะมีหนังตาอักเสบ หรือมีตากุ้งยิงเป็นๆหายๆ การรักษาต้องดูแลความสะอาดของตาให้ดี ประคบอุ่นที่ขอบเปลือกตา หยอดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม

ตาแดงจากเชื้อ Chlamydial

                 เด็กจะได้เชื้อนี้จากช่องคลอด ส่วนผู้ใหญ่จะได้รับเชื้อนี้จากสารหลังจากช่องคลอด ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตา ตาแดง ขี้ตาเป็นหนองโดยมากเป็นข้างเดียวหรืออาจจะเป็นสองข้าง การรักษาจะใช้ยากลุ่ม tetracyclin หรือ erythromycin เป็นเวลาสองสัปดาห์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th