ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
7 โรคร้ายของคนเมือง

 

              
             ภัยคุกคามสุขภาพคนเมือง ด้วยวิถีชีวิตของผู้คนเมืองใหญ่ที่ต้องใช้ชีวิตแข่งขันกับเวลาและภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ เผชิญกับมลภาวะอยู่ทุกวี่วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนเหล่านี้โดยตรง เป็นปัญหาสุขภาพแอบแฝงอยู่ในร่างกายคนเมืองโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แต่จะมีโรคอะไรบ้างนั้น เรามาอัพเดตข้อมูลกันดีกว่าค่ะ จะได้รู้เท่าทันและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. โรคเครียด
             ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี หากเหลียวกลับไปมองชีวิตที่ผ่านมาสักนิดจะพบว่า ผู้คนในเมืองใหญ่มากมายมักมีพฤติกรรมหลายๆ อย่าง ที่ผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์ ไม่ว่าจะโกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย อยู่กับความเครียดตลอดเวลา

             จากผลการวิจัยของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2549 คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคเครียดในระดับสูงมากถึง 8 % เครียดระดับปานกลาง 33 % และเครียดระดับน้อย 57 % รวมทั้งคนที่อยู่ในช่วงอายุ 25-35 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มักเป็นโรคเครียดมากกว่าวัยอื่น เรียกกันว่า โรคผู้บริหาร เพราะอายุมากขึ้น ความรับผิดชอบงานก็หนักขึ้นเป็นเงาตามตัว

              
             การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ความเครียดส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น นอนไม่หลับเลย วิตกกังวล จนกระทั่ง อาเจียน เครียดลงกระเพาะอาหาร ปัสสาวะ บ่อยจนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เครียดแล้วเป็นไมเกรน หรือลุกลามถึงขั้นเป็นโรคหัวใจ ส่วนผลกระทบทางด้านจิตใจ เช่น เกิดความกังวลตลอดเวลา ลนลานอย่างหนัก กังวลจนสมาธิไม่มี อารมณ์เสีย หงุดหงิด ฯลฯ หากปล่อยทิ้งไว้นานจะพัฒนาไปสู่โรคเครียดเรื้อรังได้
การปฏิบัติตัวที่จะช่วยลดอาการเครียดได้ก็คือ การผ่อนคลายความเครียดทางร่างกาย เริ่มง่ายๆ ด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย จะช่วยให้การทำงานของระบบเลือดหัวใจ และสมองดีขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ลดคาร์โบไฮเดรต และแอลกอฮอล์ หรือจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานใหม่ ซึ่งหลายๆ หน่วยงานเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เช่น จัดให้มีมุมนั่งเล่นในสวนสวย มุมทำสมาธิ มุมรับประทานอาหารว่าง มุมดูหนังฟังเพลง บริการนวดคลายเครียดในที่ทำงาน การเพิ่มเวลาพักทุกๆ ชั่วโมง ฯลฯ แต่หากไม่ดีขึ้นควรพบจิตแพทย์สถานเดียว

2. โรคระบบทางเดินหายใจ
             มลภาวะเป็นพิษ สาเหตุหลักของโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด ไซนัส หวัด ภูมิแพ้ องค์การอนามัยโลกรายงานว่า โรคที่คร่าชีวิตคนทำงานมากที่สุดในปัจจุบันคือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยมีอัตราเสี่ยงสูงถึง 10 % ของคนทั้งโลก
            นอกจากนี้รายงานทางการแพทย์ของไทยยังพบว่าคนกรุงเทพฯ มีอัตราผู้ป่วยภูมิแพ้สูงถึง 50 % ต้นเหตุแห่งมลพิษก็มาจากโรงงานอุตสาหกรรมตามหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกนี่แหละ ที่ปล่อยหมอกควันพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ รวมทั้งไอเสียจากรถยนต์ที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน

             อาการเบื้องต้นของภูมิแพ้เริ่มจาก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย โดยไม่ได้มาจากการเจ็บป่วย หายใจไม่สะดวก ป่วยกระเสาะกระเสะ เหมือนเป็นไข้หวัดตลอดเวลา คัดจมูก น้ำมูก น้ำตาไหล แต่ไม่มีไข้ เราสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลารถติด พักอาศัยอยู่ในที่อากาศถ่ายเทหรือไปสูดอากาศนอกเมืองบ้าง และออกกำลังกายเป็นประจำ

3. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
             ยุคไอทีแทบทุกคนในเมืองใหญ่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำให้ตาพร่ามัว รังสีจากหน้าจอทำให้กล้ามเนื้อตาตรึงเครียด อาการเหล่านี้หากทิ้งไว้นานจะมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย การพักสายตาด้วยการหลับตาหรือมองต้นไม้ใบหญ้าจะช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตาได้
             กล้ามเนื้อเมื่อยล้า เป็นอาการเครียดของกล้ามเนื้อเมื่อใช้งานต่อเนื่องนานๆ เช่น การกดแป้นคีย์บอร์ด ทำให้ข้อกระดูกนิ้วเสื่อม กล้ามเนื้อไหล่ตึง และเจ็บปวด การขยับเม้าส์ไปมาทำให้ปวดกระดูกข้อมือ อาจเกิดพังผืดที่โพรงเส้นประสาทข้อมือหรืออุโมงค์ข้อมือ หากทิ้งไว้นานอาจปวดเรื้อรังถึงขั้นพิการ
             อาการเหล่านี้บรรเทาด้วยการพักข้อมือ รับประทานยาแก้ปวด บางรายที่อาการหนัก อาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองข้อมือ หรือฉีดยาเพื่อลดอาการเจ็บปวด อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาได้คือ ปรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับสรีระ เช่น ใช้แผ่นป้องกันแสง เพื่อป้องกันรังสี หรือเลือกใช้จอถนอมสายตา ควรปรับแสงสว่างหน้าจอให้เหมาะกับช่วงแต่ละเวลาด้วย ขณะใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ให้วางท่อนแขนขนานกับพื้น มีแผ่นรองข้อมือเพื่อช่วยลดการเคลื่อนไหว และการเสียดสี ปรับระดับเก้าอี้ให้นั่งสบาย ขาตั้งฉากกับพื้น ซึ่งถือเป็นท่าที่ถูกต้อง

4. โรคนอนไม่หลับ
             คนทุกคนรู้ดีว่าการนอนหลับสนิทอย่างเพียงพอ มีความสำคัญยิ่งยวดต่อความเข้มแข็งของสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิต แต่ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยมีปัญหาการนอนไม่หลับ โดยเฉพาะคนเมืองที่มีวิถีชีวิตการกินอยู่ผิดธรรมชาติ ผลการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ประชากรผู้ใหญ่ในเมืองใหญ่กว่าร้อยละ 30 ไม่ได้รับการพักผ่อนนอนหลับอย่างมีสุขภาพและเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถปฎิบัติภารกิจในแต่ละวันได้อย่างมีคุณภาพ
             การนอนไม่หลับเป็นการนอนหลับยาก นอนหลับๆ ตื่นๆ หรือสะดุ้งขึ้นมาและนอนหลับต่อไม่ได้ ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอเกิดจากหลายสาเหตุเช่น อาหาร รูปแบบการใช้ชีวิต การเจ็บป่วย การใช้ยา ความเครียด ความกังวล ฯลฯ คนส่วนใหญ่มักเป็นอยู่ 2-3 วัน แล้วจะหายไปเอง แต่บางรายที่นอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานติดต่อกันเป็นสัปดาห์ขึ้นไป หากปล่อยไว้นานๆ จะมีอาการเรื้อรัง กระทั่งส่งผลเสียร้ายแรงต่ออารมณ์ ความจำ การตื่นตัว ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา และไม่มีแรง บางครั้งกลายเป็นโรคซึมเศร้าด้วย
หากคุณเป็นหนึ่งที่มีอาการนอนไม่หลับ ให้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมดู เช่น พยายามนอนและตื่นเวลาเดิมทุกเช้า ไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ตาม ออกกำลังกาย ผู้ที่วิ่งหรือออกกำลังกาย วันละ 40 นาที จะหลับลึกนานกว่าคนทั่วไป แต่ถ้าหากเป็นนานกว่า 2 สัปดาห์ หาสาเหตุชัดเจนไม่ได้ และรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย จนไม่สามารถทำงานได้ หลับบ่อยครั้งในระหว่างวัน ควรไปพบแพทย์ได้แล้ว
5. โรคปลายประสาทอักเสบ
             เกิดจากความผิดปกติของประสาทส่วนปลาย เป็นผลจากโรคเครียดและกล้ามเนื้ออักเสบ การได้รับสารพิษหรือโลหะหนักอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนั่ง ยื่น หรือท่ายกของอย่างไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ จนเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแต่บริเวณคอ ลงไปที่ไหล่ เรื่อยถึงกระดูกสันหลัง และช่วงเอว ทำให้ทรงตัวไม่ได้ ร่างกายอ่อนปวกเปียก ชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า หากปล่อยไว้กล้ามเนื้อจะลีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ โรคนี้พบบ่อยในคนทำงานนั่งโต๊ะ รวมทั้งคนที่อาศัยในเขตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริเวณที่มีมลพิษหนาแน่น ป้องกันได้โดยการนั่ง ยืน เดิน ในท่าที่ถูกต้อง นวดคลายกล้ามเนื้ออยู่สม่ำเสมอ อยู่ในที่ที่สภาพแวดล้อมดี อากาศดี
6. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
              ความรีบเร่งทำงาน รถติด ห้องน้ำไม่สะอาด ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะกลั้นปัสสาวะ โดยไม่รู้เลยว่าปริมาณน้ำจะเพิ่มเป็นเท่าตัว ทำให้กระเพาะปัสสาวะบวม ซึ่งผู้หญิงมีท่อนำปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อโรคจะย้อนกลับเข้าไปสู้กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
              อาการของโรคนี้ จะทำให้คุณมีอาการปวดปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งใน 1 วัน หรือปวดปัสสาวะกระปริดกระปอย ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย จนรบกวนการหลับนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ในรายที่เพิ่งเริ่มเป็น รักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาเพียง 1 สัปดาห์
7. โรคไมเกรน
             อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง บริเวณขมับหรือใกล้เบ้าตา ลักษณะการปวดจะรู้สึกปวดลึกเป็นจังหวะสอดคล้องกับการเต้นของหัวใจ เป็นสัญณาณเตือนของโรคไมเกรน เป็นโรคที่กำลังคุกคามประชาชนในเมืองใหญ่ อย่างน่าเป็นห่วง
            ข้อมูลจากคณะกรรมการการอาหารและยา ระบุว่า การปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากช่วงอายุที่พบเป็นช่วงวัยทำงาน มากกว่าผู้สูงอายุ แต่เมื่ออายุมากขึ้นอาการจะลดลง และผู้หญิงที่เป็นไมเกรนเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ก็จะหยุดปวดไมเกรนไปด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย
            ปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาด การกินยาแก้ปวดเมื่อยเพียงการบรรเทาอาการปวดศีรษะ หากกินยานานๆ จะเป็นพิษสะสมในตับ วิธีดุแลตัวเองนั้น เน้นนอนหลับให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนน้อย จะกระตุ้นอาการปวดศีรษะ
            นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการขจัดความเครียดจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ส่วนเรื่องอาหารควรหลีกเลี่ยง อาการกระตุ้นไมเกรน เช่น ชา กาแฟ ผงชูรส เนย นม กล้วยหอม ส้ม เป็นต้น
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th