โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดป้องกันได้
โดย นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ นายแพทย์ 8วช
ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

          ปัจจุบันคนเรามีอายุยืนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อคุณยายยังเด็กอยู่ก็คงสังเกตว่าคนที่มีอายุ 75 ปี อย่างคุณยาย มีน้ำหนักไม่มากนัก แต่คุณยายก็พบว่าเดี๋ยวนี้เพื่อน ๆ ของคุณยายก็มีชีวิตอยู่ค่อนข้างแข็งแรงอยู่หลายคน เป็นที่น่าสนใจว่าเด็ก 6 ขวบ ในปัจจุบันจะมีชีวิตยืนยาวกว่าพ่อแม่ซึ่งอายุ 45 ปี ในขณะนี้ถึง 75 ปี แต่ก็ยังดีที่พ่อแม่ของเขาจะยังมีอายุยืนกว่าคุณยายอยู่ถึง 5 ปี อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น? ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ลดการตายของเด็กในชวบปีแรก มีส่วนสำคัญต่อคำตอบนี้ประมาณร้อยละ 19 การตรวจรักษามะเร็งดีขึ้น เป็นสิ่งสำคัญเพียงร้อยละ 3 แต่ผลกระทบสำคัญสุดคือการป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีความสำคัญร้อยละ 70 จึงไม่ผิดนักที่จะพูดว่าใครก็ตามที่อายุเกิน 1 ขวบ จะต้องใส่ใจอย่างที่สุดเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะนั่นจะทำให้เขามีชีวิตที่ยืนยาว แล้วเราจะป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร

หัวใจ           เราทราบดีว่าคนบางคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าบางคน ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นอายุ เพศ กรรมพันธุ์ แต่หลายอย่างก็เปลี่ยนแปลงได้เช่น
          ความดันโลหิตสูงเกินกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท สามารถควบคุมป้องกันได้โดยการลดอาหารเค็มหรือรสจัด ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ 3 - 5 ครั้ง/สัปดาห์ ควบคุมน้ำหนักและระดับเอวระดับสะดือไม่เกิน 80 ซม. ในหญิง และ 90 ซม. ในชาย ไม่ควรดื่มของมึนเมาและไม่สูบบุหรี่ หากยังควบคุมไม่ได้ต่ำกว่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกินยาลดความดันโลหิต
          เบาหวาน พบมากในคนที่มีกรรพันธุ์ อ้วน ไม่ออกกำลังกาย ฉะนั้นผู้มีความเสี่ยงควรหมั่นตรวจเลือดดูระดับน้ำตาลทุก 1 - 3 ปี และผู้ที่มีระดับน้ำตาลกลังงดอาหารเช้าสูงกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าข่ายเสี่ยงและต้องควบคุมอาหารโดยไม่กินหวาน หรือปรุงรสโดยใช้น้ำตาลเทียม คุมน้ำหนัก ออกกำลัง และไม่ดื่มสุราเช่นเดียวกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
          
                   ไขมันในเลือดสูง หลายคนเข้าใจ่าพบแต่ในคนอ้วน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากไขมันเลือดไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับไขมันในพุงเลย ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันที่สำคัญได้แก่ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) ค่าที่ถือว่าผิดปกติคือ สูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งวัดชณะอดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และหากจะให้ละเอียดยิ่งขึ้นควร ประเมินไขมันที่ไม่ดี คือ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันที่นำโคเลสเตอรอลไปสะสมหรือพอกในผนังหลอดเลือดทำให้รูหลอดเลือดตีบตัน ค่าผิดปกติคือ สูงกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ระดับไขมันที่ถือว่าผิดปกติในแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรควบคุมระดับไขมัน LDL ให้ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นต้น การควบคุมไขมันโคเลสเตอรอลให้ต่ำ ทำให้การควบคุมอาหาร ได้แก่ อาหารที่มาจากสัตว์ คือเนื้อ นม ไข่ ฉะนั้นวิธีควบคุมอาหารที่เหมาะสมคือกินตอาหารมังสะวิรัติ หรืออาหารเจ อีกประการหนึ่งค่อใช้น้ำมันปรุงอาหาร น้ำมันพืชทุกชนิดไม่มีโคเลสเตอรอลก็จริง แต่ไขมันชนิดกลีเซอไรต์จากพืชบางชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์ม มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูงอยู่มากซึ่งมีผลรบบกวนการนำไขมันโคเลสเตอรอล กลับสู่ตับ จึงมีผลโดยอ้อมให้โคเลสเตอรอลพอกในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นได้ จึงแนะนำให้ใช้น้ำมันถ่วเหลืองหรือจากรำข้าวในการปรุงอาหา
            ภาวะไขมันที่ดีต่ำ ได้แก่ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งจะมีหน้าที่นำไขมันจากหลอดเลือดมาปล่อยทิ้งไว้ที่ตับ ซึ่งจะขับโคเลสเตอรอลออกทางน้ำดีอีกทางหนึ่ง หากมีปริมาณต่ำก็จะทำให้การกำจัดไขมันจากหลอดเลือดทำได้ช้า ไม่เพียงพอ มีหลักฐานการศึกษา ในประเทศไทย โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและรามาธิบดี พบว่า ปัญหาไขมัน DHL ต่ำเป็นปัญหาสำคัญกว่าภาวะโคเลศเตอรอลสูงอีก การทำให้ระดับ HDL เพิ่มขึ้นได้โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ การดิ่มแอลกอฮอล์ปริมาณเล็กน้อย เช่น เบียร์วันละกระป๋อง ไวน์วันละแก้ว ช่วยให้ไขมัน HDL เพิ่มได้แต่ก็มีข้อเสียต่อการเพิ่มความดันโลหิต และควรระวังในผู้ป่วยโรคตับ
           การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดแข็งและอุดตันได้ง่าย ปริมาณการสูบมากกว่า 10 มวน/วัน เป็นที่ยอมรับว่าทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งหลอดเลือดตีบตัน และมะเร็ง การหยุดสูบบุหรี่ทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวลดลง แต่อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี ฉะนั้นคำแนะนำคือ การหยุดสูบบุหรี่แทนที่จะสูบให้น้อยลง
          ความผิดปกติหลายอย่างที่กล่าวมา พบได้แม่ในผู้ที่ไม่มีอาการใด ๆ ดังนั้นเพื่อให้ทราบความเสี่ยงของท่าน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียแต่เนิ่น ๆ ควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และปรึกษาแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ ก็จะทำให้ชีวิตยืนยาว ปราศจากโรคแทรกซ้อน
Content for id "showFlash" Goes Here
head

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าแรก / วิสัยทัศน์และพันธกิจ / ผู้บริหาร สนพ. / โครงสร้าง สนพ. / ติดต่อเรา
Produce by Medical Service Department
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514
ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966
โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029 , 0-2224-2969

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th